การต่อวิซ่า
การยื่นคำร้องขออยู่ของคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทต่าง ๆ
1. กรณีทั่วไป
1. แบบคำร้อง (ตม.7)
2. หนังสือเดินทาง
3. สำเนาหนังสือเดินทาง
- หน้าที่มีชื่อ - ชื่อสกุล - รูปถ่าย
- หน้าที่มีวันที่ออกหนังสือเดินทาง และวันหมดอายุ
- หน้าที่มีตรา VISA และตราประทับขาเข้า
- บัตร ตม. 6
4. รูปถ่าย 4 x 6 ซม (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
5. ค่าธรรมเนียมขออยู่ต่อ 1,900.- บาท
2. กรณีมีเหตุจำเป็นในขออยู่ต่อ
ต้องประมวลเรื่องเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ เจ้าหน้าที่ประทับตรานัดฟังผล ในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว 14 วัน
1. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง เช่นเดียวกับกรณีทั่วไปในข้อ 1.1 – 1.5
2. เพิ่มเติมเอกสารหลักฐานประกอบผลความจำเป็นตามแต่กรณี
3. กรณีคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนด
1. บุคคลต่างด้าว ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ ห้อง 205 ชั้น 2 อาคาร 1 เพื่อชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีอยู่
เกินกำหนดอนุญาต ในอัตราวันละ 500.- บาท
นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าเปรียบเทียบปรับ พร้อมเอกสารหลักฐาน ตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 แล้วแต่กรณี ไปยื่นคำร้องที่ช่องรับคำร้อง หมายเลข 5
( บริเวณห้องโถงชั้นล่าง อาคาร 1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกัน
การยื่นคำร้องขออยู่เพื่อการธุรกิจปีแรกและปีถัดไป
1. แบบคำขอ ตม. 7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
3. หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม. 1)
4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
5. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่
เกิน 6 เดือน
6. สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
7. สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน 2 ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้
เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
8. สำเนาแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จ (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร เท่านั้น
9. แบบนำส่งงบการเงินฯ (สบช.3) ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากกระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น)
10. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีไม่มีชื่อของ
คนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง)
11. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
12. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส. 1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
13. สำเนาแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
14. เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
15. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
16. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด
17. รูปถ่ายสถานประกอบการ
- ภายนอก ให้ปรากฏเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสถานประกอบการ
- ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานขณะปฏิบัติงานอยู่
18. ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย
19. กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการ
รับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีอุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย
1. แบบฟอร์ม ตม. 7
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป
- ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
3. หลักฐานประกอบการขออยู่ต่อ
กรณีอุปการะภรรยาไทย
1. ทะเบียนสมรส
2. สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ของภรรยา)
4. บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของภรรยา)
5. หลักฐานแสดงรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน ไม่น้อยกว่า 400,000.- บาท
กรณีทำงาน
1. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
2. หนังสือรับรองเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 40,000.- บาท
(ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ตำแหน่งและเงินเดือน)
สามีหรือภรรยาทำงานมีรายได้รวมกันขั้นต่ำ เดือนละ 40,000.- บาท
3. บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
4. แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้านพักและครอบครัว
5. อื่นๆ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
กรณีรับอุปการะจากสามีคนไทย
1. ทะเบียนสมรส
2. สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ของสามี)
4. บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของสามี)
5. บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
6. แผนที่บ้าน
หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย (ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป (แบบย่อ รายละเอียดแบบเต็มดูด้านล่าง)
บิดา มารดาเป็นคนสัญชาติไทย
1. ตม. 7
2. สำเนาหนังสือเดินทาง
3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
6. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
7. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
บิดา มารดาเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
1. ตม. 7
2. สำเนาหนังสือเดินทาง
3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
6. หลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ของบิดา มารดา (สำเนาหนังสือเดินทาง , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
7. บันทึกปากคำของผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
8. หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน อาชีพ และรายได้บิดามารดาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
9. บุตรต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์) หรือ อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักสูตรระดับ จำนวนปีการศึกษา และยังอยู่ในอุปการะของบิดามารดา หรือพิการจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
10. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
* บุตร สามารถเข้ามาและยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ เพื่ออุปการะบิดา-มารดาที่เป็นคนมีถิ่นที่อยู่ฯ ได้เพียงคนเดียว
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ
1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
3. กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน
ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หลักฐานเอกสารประกอบ
1. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
4. สัญญาว่าจ้าง
5. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
ในสถานศึกษาของเอกชนหรือโรงเรียนนานาชาติ
หลักฐานเอกสารประกอบ
1. ในส่วนกลาง - หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน หรือ
ในส่วนภูมิภาค - หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่สถานศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา ที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
4. คุณวุฒิการศึกษา
5. ใบอนุญาตให้เป็นครู ( สช . 11)
6. ใบอนุญาตให้บรรจุครู ( สช . 18 หรือ 19)
7. สัญญาว่าจ้าง
8. ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
9. ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน
1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
3. กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน
ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หลักฐานเอกสารประกอบ
1. หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
2. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
3. สัญญาว่าจ้าง
4. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ . ง . ด . 91) ในรอบปีที่ผ่านมา